ภาษีที่ดินใหม่ – ประชาชนไทยควรรู้ พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 ฉบับใหม่นี้ จะมาใช้แทน พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 และพระราชบัญญัติภาษีบำรุง ท้องที่ พ.ศ.2508 จะเริ่มจัดเก็บ 1 มกราคม 2563 นี้ โดยสาระสำคัญของภาษีที่ดินใหม่มีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย
ฐานภาษี : มูลค่าของทีดินและสิ่งปลูกสร้าง
ผู้เสียภาษี : เจ้าของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง, เจ้าของห้องชุด, ผู้ครอบครองทรัพย์สินหรือทำประโยชน์ในทรัพย์สินของรัฐ (ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง)
ผู้จัดเก็บภาษี : เทศบาล, อบต, กรุงเทพมหานคร, เมืองพัทยา
การทำประโยชน์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
เกษตรกรรม : ทำนา ทำไร่ ทำสวน เลี้ยงสัตว์/สัตว์น้ำ และกิจการอื่นตามที่ประกาศกำหนด
การจัดเก็บ
ดูตามสภาพข้อเท็จจริง
ทำเกษตรกรรมไม่เต็มพื้นที่ เสียภาษีตามสัดส่วนการใช้ประโยชน์
รวมถึงที่ดินและสิ่งปลูกสร้างต่อเนื่องที่ใช้สำหรับเกษตรกรรม
ที่อยู่อาศัย : บ้านหลังอื่น ๆ เจ้าของบ้านมีชื่อในโฉนด แต่ไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน, ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่เจ้าของใช้อยู่อาศัย แบ่งเป็นบ้านหลังหลัก เจ้าของบ้านและที่ดิน/เจ้าของเฉพาะตัวบ้านมีชื่อในเอกสารและแสดงกรรมสิทธิ์ทะเบียนบ้าน (ไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของบ้าน/เจ้าของคนใดคนหนึ่งมีชื่อในทะเบียนบ้าน)
ที่ว่างเปล่า/ไม่ทำประโยชน์ตามควรแก่สภาพ : ทิ้งที่ดินไว้ว่างเปล่าหรือไม่ทำประโยชน์ในปีก่อนหน้า
อื่น ๆ : พาณิชยกรรม อุตสาหกรรม โรงแรม อพาร์ทเม้นท์ บ้านให้เช่า อื่น ๆ
เกาหลีใต้ประกาศเตือนภัยให้ประชาชนเฝ้าระวัง ไข้หวัดนก หลังทางการพบคราบเชื้อ H5N8 ภายในตัวอย่างนก เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน สำนักข่าว สเตรจไทม์ รายงานว่า รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรกรรมเกาหลีใต้ออกมายืนยันว่าพบคราบของเชื้อ ไข้หวัดนก ชนิด H5N8 ในนกป่าทางตอนตะวันตกของประเทศ โดยการค้นพบครั้งนี้เกิดขึ้น หลังจากที่สัปดาห์ที่ผ่านมาทางเกาหลีใต้สั่งเก็บตัวอย่างนก จากจังหวัดชุงช็องใต้ ห่างจากกรุงโซล 84 กิโลเมตร
ธุรกิจดำเนินกิจการอยู่ ณ เดือนกันยายน
– ธุรกิจดำเนินกิจการอยู่ทั้งสิ้น (ณ วันที่ 30 ก.ย. 62) ธุรกิจที่ยังคงดำเนินกิจการอยู่ทั่วประเทศ จำนวน743,073 ราย มูลค่าทุน 18 ล้านล้านบาท จำแนกเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด / ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล จำนวน 183,862 ราย คิดเป็นร้อยละ 24.74 บริษัทจำกัด จำนวน 557,955 ราย คิดเป็นร้อยละ 75.09 และบริษัทมหาชนจำกัด จำนวน 1,256 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.17 แนวโน้มการจัดตั้งธุรกิจ
– ธุรกิจดำเนินกิจการอยู่แบ่งตามช่วงทุน ธุรกิจส่วนใหญ่มีช่วงทุนไม่เกิน 1 ล้านบาท จำนวน 440,101 ราย คิดเป็นร้อยละ 59.23 รวมมูลค่าทุน 0.39 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 2.17 รองลงมา คือ ช่วงทุนมากกว่า 1-5 ล้านบาท จำนวน 217,186 ราย คิดเป็นร้อยละ 29.23 รวมมูลค่าทุน 0.71 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3.94 รองลงมา คือ ช่วงทุนมากกว่า 5-100 ล้านบาท จำนวน 70,444 ราย คิดเป็นร้อยละ 9.48 รวมมูลค่าทุน 1.91 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 10.61 และช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท จำนวน 15,342 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.06 รวมมูลค่าทุน 14.99 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 83.28 ตามลำดับ
แนวโน้มการจัดตั้งธุรกิจ เมื่อประเมินจากสถานการณ์การจดทะเบียนและสภาพเศรษฐกิจ รวมถึงแนวโน้มการจดทะเบียนจัดตั้ง ตามฤดูกาล (seasonal trend) จึงคาดการณ์ว่าสถานการณ์การจดทะเบียนจัดตั้งในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ (ไตรมาส 4 ปี 2562) จะใกล้เคียงกับไตรมาสเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยมีแนวโน้มการจดทะเบียนในไตรมาสสุดท้ายของปีลดลงตามแนวโน้มฤดูกาลในช่วงสิ้นปี
การลงทุนประกอบธุรกิจในไทยภายใต้กฎหมายต่างด้าว เดือนกันยายน
– เดือนกันยายน 2562 มีการอนุญาตให้คนต่างชาติประกอบธุรกิจทั้งสิ้น 48 ราย แบ่งเป็นใบอนุญาตประกอบธุรกิจ 18 ราย และหนังสือรับรองประกอบธุรกิจ 30 ราย โดยมีเม็ดเงินลงทุนทั้งสิ้น 17,594 ล้านบาท
– นักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในไทยมากที่สุด ได้แก่ ญี่ปุ่น จำนวน 15 ราย เงินลงทุนกว่า 15,410 ล้านบาท รองลงมา ได้แก่ สิงคโปร์ จำนวน 7 ราย เงินลงทุน 307 ล้านบาท และจีน 6 ราย เงินลงทุน 718 ล้านบาท
– การเปรียบเทียบการลงทุนรายเดือน เมื่อเปรียบเทียบการเข้ามาลงทุนของชาวต่างชาติในเดือนกันยายน กับเดือนสิงหาคม 2562 ที่ผ่านมา ปรากฏว่า จำนวนธุรกิจที่คนต่างชาติเข้ามาลงทุนลดลง 1 ราย หรือร้อยละ 2 ในขณะที่เงินลงทุนลดลง 1,276 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 7
เดือนมกราคม -กันยายน 2562 คนต่างด้าวได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจ จำนวน 448 ราย มีเงินลงทุนทั้งสิ้น 101,579 ล้านบาท และเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปรากฏว่าจำนวนธุรกิจที่ได้รับอนุญาต ลดลง 106 ราย (19%) ขณะที่เงินลงทุนเพิ่มขึ้น 28,680 ล้านบาท (39%) เนื่องจากใน ปี 62 มีต่างชาติลงทุนประกอบ
Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป