ที่ประชุมคณะรัฐมนมตรีมีมติเคาะ ทิพานัน ศิริชนะ อดีตโฆษกพลังประชารัฐ นั่ง รองโฆษกรัฐบาล เผยเป็นการแต่งตั้งเพิ่มไม่ใช่แทนที่ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี หรือ ครม. ได้มีมติแต่งตั้ง ทิพานัน ศิริชนะ นั่งตำแหน่งรองโฆษกรัฐบาล ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้ง ตามที่มีการคาดการณ์เอาไว้หลังจากที่ น.ส.ทิพานัน ได้ลาออกจากตำแหน่งตำแหน่งประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 ส.ค. ที่ผ่านมา
การเข้ารับตำแหน่งในครั้งนี้ไม่ใช่การแทนที่
แต่เป็นแต่งตั้งทีมโฆษกประจำสำนักนายกเพิ่มเติม โดยทีมโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปัจจุบัน ประกอบด้วย นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฎิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นางสาวไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
สำหรับ ทิพานัน ศิริชนะ เป็นอดีตรองโฆษกพรรคพลังประชารัฐ และเคยผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.กทม. เขตจอมทอง-ธนบุรีอีกด้วย อย่างไรก็ตามในการเลือกตั้งครั้งนั้น น.ส.ทิพานัน แพ้ให้กับ นายโชติพิพัฒน์ เตชะโสภนมณี ผู้สมัครจากอดีตพรรคอนาคตใหม่
การแก้ปัญหาความยากจนแบบมุ่งเป้าแต่ละครัวเรือน มีการตั้งทีมพี่เลี้ยง เข้าไปตรวจสอบข้อมูลทุกครัวเรือนยากจน ในแต่ละหมู่บ้านเพื่อรับทราบปัญหา ช่วยหาทางแก้ไข และให้การสนับสนุนให้ครอบครัว มีการวางแผน แก้ปัญหาความยากจนของแต่ละครัวเรือน ให้ตรงตามสภาพปัญหาที่แต่ละครอบครัวกำลังเผชิญ
นี่คือผลงานส่วนหนึ่งตลอดวาระ 8 ปีที่ผ่านมาเพื่อประชาชนจากรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่กรมประชาสัมพันธ์ได้เปิดเผยออกมา
เปิดไทม์ไลน์ ‘ประยุทธ์’ ครบวาระนายกฯ 8 ปี 24 ส.ค.นี้
สรุปไทม์ไลน์ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ครบวาระนายกฯ 8 ปี วันที่ 24 สิงหาคม 2565 มีเหตุการณ์สำคัญอะไรบ้าง หลังหลายฝ่ายจับตามองจะไปต่อหรือพอแค่นี้
ย้อนไทม์ไลน์ “8ปีประยุทธ์” พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (บิ๊กตู่) หลังดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีครบ 8 ปี ในวันที่ 24 สิงหาคม 2565 หลังจากที่ทำการรัฐประหารมาในปี พ.ศ. 2557 ทำให้หลายฝ่ายจับตามองต่อท่าทีของนายกฯ ประยุทธ์ ว่าจะดำรงตำแหน่งนายกต่อไปหรือไม่
อย่างไรก็ตามทีมงานเดอะไทยเกอร์จะขอพาทุกคนไปดูไทม์ไลน์การขึ้นรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา กันสักหน่อยว่า จุดเริ่มต้นของการมาอยู่ในตำแหน่งผู้นำประเทศครั้งนี้มีที่มาที่ไปอย่างไรบ้าง ไปติดตามพร้อมกันได้เลย
ย้อนประวัติเหตุการณ์สำคัญของรัฐบาล พล.อ ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก่อนครบวาระเป็นนายกฯ 8 ปี ในวันพุธที่ 24 สิงหาคม 2565 มีที่มาเหตุการณ์สำคัญอไรบ้าง โดยหากอ้างอิงจากรัฐธรรมนูญปี 2560 ตามาตรา 158 นายกรัฐมนตรี จะดำรงตำแหน่งรวมกันแล้วเกิน 8 ปี ไม่ได้ไม่ว่าจะเป็นการดำรงตำแหน่งติดต่อกันหรือไม่ แต่ไม่นับรวมระหว่างที่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไป หลังพ้นจากตำแหน่ง
ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้ต่างฝ่ายต่างรอลุ้นผลคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนุญ ว่าจะวินิจฉัยให้พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหรือไม่ ในวันที่ 24 สิงหาคม 2565 นี้ แต่ก่อนอื่นเรามาดูที่มาที่ไปของการดำรงตำแหน่งนายกของพลเอกประยุทธ์กันก่อน
พ.ศ. 2556 พล.อ.ประยุทธ์ ถูกกลุ่ม กปปส. เรียกร้องให้ยึดอำนาจรัฐบาล
– ปี พ.ศ. 2554 หลังนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยุบสภา ทำให้ประเทศไทยเกิดการเลือกตั้งขึ้นอีกครั้ง โดยผลการเลือกตั้งในครั้งนั้นปรากฏว่า นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทย
– ปี พ.ศ. 2556 รัฐบาลยิ่งลักษณ์พยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญ พรบ.นิรโทษกรรม ประกอบกับการจัดการปัญหาอุทกภัยใหญ่ในปี พ.ศ. 2554 ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร จึงทำให้เกิดการประท้วงจากกลุ่ม กปปส. (คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงปฏิรูปประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แบบอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข)
– ปี พ.ศ. 2556-2557 เกิดวิกฤตทางการเมืองไทยขึ้นมากมาย โดยกลุ่ม กปปส. นำโดยนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ทำการประท้วงรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แม้พรบ.นิรโทษกรรม (ที่เป็นตัวการหลักของความขัดแย้งทางการเมืองครั้งนี้) จะถูกลงมติไม่เห็นชอบจากวุฒิสภาก็ตาม แต่การประท้วงยังคงดำเนินต่อไป
– 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และคณะรัฐมนตรีถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้พ้นจากตำแหน่ง โดยนายไพบูลย์ นิติตะวัน เป็นผู้ยื่นคำร้องให้วินิจฉัยความเป็นรัฐมนตรีของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
– 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 เวลา 03.00 น. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ทำรัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาลยิ่งลักษณ์ และประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักรไทย จากนั้นจึงจัดตั้ง กอ.รส. หรือ กองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย
– 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ประกาศผ่านทางโทรทัศน์ว่าทำการรัฐประหารรัฐบาลรักษาการอย่างเป็นทางการแล้ว หลังจากนั้นก็ได้จัดตั้ง คสช. หรือ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ขึ้นมาเพื่อควบคุมความสงบเรียบร้อยภายในประเทศหลังทำการรัฐประหาร
Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป